หากพูดถึงไผ่แล้วเราคงรู้จักกันดีว่าต้นไผ่นั้นมีประโยชน์ในการใช้สอยประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อทำเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำการเกษตรหรืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร รวมทั้งภาชนะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ในอดีตนั้นอาจนำไผ่มาทำเป็นอาคารบ้านเรือนเลยก็ว่าได้ ไผ่มีหลายชนิด แต่ไผ่ที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้มากและปลูกเพื่อส่งออกตลาดอุตสาหกรรมมากที่สุดนั้นก็คือ “ไผ่ซางหม่น” โดยไผ่ประเภทนี้จะนิยมนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทั้งขายในประเทศและส่งออกนอกประเทศ ด้วยรูปร่างลำต้นของไผ่ชนิดนี้มีลักษณะที่สวยงามกว่าไผ่ชนิดอื่น รวมทั้งหน่อไผ่ยังสามารถใช้ปรุงอาหารได้อีกด้วยครับ
ไผ่ซางหม่น มีลักษณะลำต้นตรงยาวเหมือนไผ่ชนิดอื่น โดยสีของไผ่นั้นจะมีสีเขียวหม่น โดยสีที่ปล้องของลำอ่อนนั้นจะมีสีขาวออกแป้งๆ ส่วนลำแก่นั้นจะมีสีเขียวเข้ม ลักษณะเนื้อหนาเนียน ให้ความคงทนได้ดีเยี่ยม ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 10 เซนติเมตร ปล้องแต่ล่ะปล้องจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตรครับ และส่วนใหญ่เราจะมักจะพบไผ่ชนิดนี้ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยครับ ยังไม่พบแพร่หลายในภาคอื่นๆ แต่ความต้องการใช้ไผ่ซางหม่นกลับมีแพร่หลายไปทั่วประเทศ หากใครสนใจจะลงทุนปลูก ต้องบอกเลยว่าโอกาสที่จะได้กำไรนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ
วิธีการปลูกไผ่ซางหม่นนั้นสามารถเพาะปลูกขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่วิธีที่จะแนะนำในวันนี้ เป็นวิธีที่ง่ายต่อเพื่อนๆ เกษตรกรมือใหม่หรือที่เพิ่งเริ่มปลูกต้นไผ่ซางหม่นกันครับ โดยเราจะปลูกด้วยวิธีการ ชำลำ โดยเริ่มจากการตัดต้นไผ่เป็นท่อนๆ และแต่ล่ะท่อนนั้นจะต้องมีข้ออยู่ตรงกลางด้วยเพื่อที่จะสามารถนำไปปักชำในดินได้ โดยให้ปล้องที่เหนือข้อนั้นมีความยาวประมาณคืบหนึ่งหรือ 30 เซนติเมตรเพื่อสามารถรองรับน้ำหนักได้ และให้ส่วนปล้องที่อยู่ใต้ข้อนั้นมีความยาวแค่เพียง 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น
ขั้นตอนต่อไปคือนำต้นที่ตัดนั้นไปชำในเรือนเพาะชำ โดยตัดกิ่งที่อยู่บริเวณรอบๆ ข้อออกให้หมดก่อนที่จะปักลงดิน วิธีการปักให้ปักลงไปในดิน โดยใส่น้ำไว้ในปล้อง ให้ส่วนตาที่อยู่บนดินปักลงดินโดยเอียงประมาณ 45 องศ าเพื่อไม่ให้น้ำในปล้องนั้นไหลออกมาได้ครับ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีปักชำลงในกระถางหรือถุงเพาะ วิธีการดูแลไผ่ซางหม่นก็ไม่ยากครับ เราเพียงแต่หมั่นใส่น้ำไว้ในปล้องไผ่ทุกวัน เพียงเท่านี้ก็รอเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้เลยครับ หากเราแปรรูปเป็นยิ่งทำเงินได้สูงเลยครับ
ไผ่ซางหม่น ลำตรง เนื้อหนา ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เจริญเติบโตได้ดีหลังจาก 3 ถึง 4 ปี เพราะมีไผ่ลำใหญ่เป็นลำแม่ให้หน่อที่มีขนาดใหญ่ แต่หากมีการให้ปุ๋ยให้น้ำที่เหมาะสมก็อาจได้ผลผลิตอย่างมากตั้งแต่ปีที่สามเป็นต้นไป หากต้องการนำลำไม้ไผ่มาใช้ประโยชน์ด้านก่อสร้างหรือทำเครื่องเรือนที่มีราคาแพงควรเลือกลำไม้ไผ่ที่มีอายุ 4 ปีขึ้นไปเพราะลำไผ่ที่แก่มักไม่ถูกรบกวนจากมอดและแมลง
เมื่ออายุ 2 ปีจะมีหน่อไม้แตกขึ้นมาอีก อาจจะคัดเลือกหน่อไม้ที่มีลักษณะไม่ดีออกไปจำหน่ายบ้าง โดยเลือกหน่อไม้ที่แทรกมาจากดินและมีขนาดใหญ่สมบูรณ์เก็บไว้ให้เป็นต้นใหม่ประมาณ 5-6 หน่อ ฉะนั้นเมื่อขึ้นปีที่ 3 จะมีลำประมาณ 8-10 ลำ เมื่อครบอายุ 3 ปีจะมีหน่อจำนวนมาก สามารถตัดหน่อออกไปจำหน่ายได้ พอปีที่ 4 เป็นต้นไปก็สามารถตัดลำมาใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ ขณะนี้ไผ่ซางหม่นกลายเป็นที่สนใจและต้องการของตลาดมากขึ้นหน่อเป็นอาหารรสชาติอร่อย ลำใช้ในงานก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์เครื่องครัว เครื่องใช้ แก้วน้ำ แจกัน ช้อนส้อม ตะเกียบ บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เครื่องใช้จักสาน หัตถกรรม ชาร์โคลจากไผ่ หรือผงถ่านแอคติเวทชาร์โคล ส่วนผสมสำคัญของผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอางและใช้ในทางการแพทย์ หลายอย่าง เช่นยาสีฟัน เครื่องสำอาง และในการดูดซับสารพิษต่างๆออกจากร่างกาย
การขยายพันธุ์ไผ่
การปลูกไผ่ มีขั้นตอนและวิธีการดําเนินการดังนี้
- การเตรียมพื้นที่ ควรเตรียมพื้นที่ไว้ตั้งแต่ฤดูแล้ง ซึ่งจะทํางานได้สะดวกสามารถลงมือปลูกได้ทันในต้นฤดูฝน โดยในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง ที่ลุ่มน้ําขัง มีเนิน หรือมีตออยู่ในพื้นที่ต้องไถบุกเบิก กําจัดตอออกให้หมด ปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ราบอยู่แล้ว สามารถไถพรวนกําจัดวัชพืชได้
- ฤดูปลูก ควรปลูกตั้งแต่ฝนเริ่มตก จนถึงปลายเดือนมิถุนายน หากฝนทิ้งช่วง ควรให้น้ําช่วย แต่ในแหล่งที่สามารถให้น้ําได้ตลอดทั้งปี สามารถปลูกไผ่ได้ตลอดปี
- ระยะปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมระหว่างต้นกับระหว่างแถวขึ้นอยู่กับขนาดของไผ่และสภาพของดิน เช่น ไผ่ตง ระยะปลูก คือ 6-8 x 6-8 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 25-45 ต้น ถ้าสภาพดินเลว ไผ่ไม่ค่อยเจริญเติบโต ควรใช้ระยะปลูกที่ถี่กว่าสภาพดินดี
- การเตรียมหลุมปลูก หลุมที่ปลูกไผ่ควรมีขนาด กว้างXยาวxลึก ขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ เช่น ไผ่ตง ขนาดหลุมไม่น้อยกว่า 50x50x50 ซม. พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต 1 กระป๋องนม (ประมาณ 300-500 กรัม) ต่อหลุม ผสมปุ๋ยคอกเก่าที่สลายตัวแล้ว 1 บุ้งกี๋ (ประมาณ 1 กิโลกรัม) และยาฆ่าแมลงฟูราดาน 1-1.5 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้ากับดินบนให้ทั่วแล้วกลบกลับคืนลงไปในหลุม ให้ระดับดินสูงกว่าเดิมเล็กน้อยเผื่อสําหรับดินยุบตัวภายหลัง
- การปลูกถ้าเป็นต้นกล้าไผ่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ควรเป็นต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์ มีระบบรากฝอยแผ่กระจายและสมบูรณ์ไม่ขดม้วนงออยู่ก้นถุง สําหรับการคัดเลือกต้นกล้าไผ่ตงที่ได้จากการชํากิ่งแขนงนั้น ให้พิจารณาขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความสูงตามชนิดไผ่ ซึ่งมีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ปราศจากการทําลายของโรคและแมลงการปลูกควรนําต้นกล้าไปปลูกตรงกลางหลุมที่เตรียมไว้ปลูกให้ลึกเท่ากับระดับดินเดิมแล้วพูนดินบริเวณโคนต้นให้เป็นเนินสูงขึ้นเล็กน้อย ใช้ไม้ปัก เป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ เพื่อป้องกันลมโยก หลังจากนั้นต้องรดน้ําตามทันที เพื่อช่วยให้เม็ดดินกระชับราก นอกจากนี้ต้นไผ่ที่เพิ่งปลูกจะไม่ทนต่อแสงแดด และความร้อนสูงต้องใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่น ช่วยพรางแสงแดด จนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่และตั้งตัวได้แล้ว จึงปลดออก
- การปลูกพืชแซม ไม้ไผ่จะให้ผลตอบแทน (หน่อและลํา) เร็วที่สุดในปีที่ 3ของการปลูกในช่วง 1 และ2 ปีแรก ควรปลูกพืชเกษตรแทรกระหว่างแถวที่ปลูกเพื่อให้มีรายได้จากพืชเกษตรมาทดแทนในช่วงแรก พืชเกษตรที่ควรปลูกคือ แตงโม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว พริก มะเขือเทศ หรือข้าวโพดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน หากต้องการปลูกเพื่อปรับปรุงสภาพดินอาจเลือกปลูกพืชตระกูลถั่วชนิดต่างๆ การปลูกพืชแทรกอาจปลูกไม่มีรูปแบบและปลูกพืชหลายชนิดผสมกันปลูกเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน การปลูกพืชชนิดเดียวอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ทางการค้าปลูกให้ห่างจากแถวที่ปลูกไม้ไผ่ประมาณ 50 ซม. ภายหลังการเก็บเกี่ยวพืชเกษตรที่ปลูกแทรกแล้ว สามารถทําการไถกลบซากพืชที่เหลือคลุกเคล้าไปกับดิน เพื่อให้แปรสภาพเป็นปุ๋ยต่อไป เมื่อไม้ไผ่มีอายุ 3 ปี ส่วนใหญ่ก็ไม่มีความจําเป็นต้องปลูกแทรกเพราะจะมีรายได้จากการขายหน่อและลําของไม้ไผ่อย่างเพียงพอ และในช่วงปีที่ 3 เรือนยอดของไผ่จะแผ่ขยายปกคลุมบริเวณข้างเคียง ทําให้เกิดร่มเงาพืชแทรกที่ต้องการแสงมากจะให้ผลได้ไม่เต็มที่ (ชมรมคนรักไผ่, 2552)